000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > เครื่องเสียงรถยนต์ > บทความเครื่องเสียงรถยนต์ > แข่งพลังเสียง ใครได้ใครเสีย
วันที่ : 28/03/2016
7,402 views

แข่งพลังเสียง ใครได้ใครเสีย

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ในการแข่งเครื่องเสียงติดรถยนต์ จะมีหมวดการแข่งหนึ่งซึ่งขาดไม่ได้ ไม่ว่าสนามไหนๆ ของกติกาค่ายไหนๆ นั่นคือ การแข่งพลังเสียง ซึ่งอาจใช้ชื่อและวิธีการกติกาแตกต่างกันไป แต่สรุปก็คือ แข่งด้วยการวัดด้วยเครื่องมือ ( SOUND LEVEL METER + ไมโครโฟน)ว่า คันไหนทำมาให้ ตัวเลข การวัดสูงที่สุด ครับ “ตัวเลข” ซึ่งไม่เกี่ยวกับ “ความไพเราะ”หรือหูตรงไหน ไม่ใช่การฟังเพลงปกติ บางกติกาใช้เสียง”บื่อ” จากสัญญาณทดสอบไม่ใช่สัญญาณเสียงดนตรี ที่สะใจที่สุดคือ หมวดการวัดพลังเสียงแบบไม่จำกัดอุปกรณ์ หรือ OPEN ซึ่งแต่ละคันจะทุ่มกันสุดตัว ตามแต่ฐานะและหน้าตักของตน แต่อย่างน้อยถ้าจะมีสิทธิ์ลุ้นก็ต้องลงกันไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อคันขึ้นไป บางค้นที่กะกวาดรางวัลเต็มที่ ประเภทฆ่าได้หยามไม่ได้ ลงกันที 7 – 8 แสนบาท ตอนนี้ทะลุล้านบาทแล้ว (ทั้งหมดนี้ไม่ได้นับตัวรถเลย) รายที่ลงหนักๆเกือบทั้งหมดได้รับการอัดฉีดจากผู้นำเข้าสินค้าทั้งนั้น อยู่ดีๆคงไม่มีร้านค้าหรือผู้บริโภคคนใดเอาเงินมาเผาทิ้งขนาดนี้ (เผาจริงๆเพราะบ่อยๆที่อัดกันสุดเพื่อวัดแค่ไม่กี่นาทีแล้วก็พังกันเป็นแถบๆ) 

เรามาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นในขบวนการล่ารางวัลนี้

  1. โรงงานที่ผลิตลำโพงหรือเพาเวอร์แอมป์ โดยเฉพาะเพาเวอร์แอมป์ มักต้องออกแบบและผลิตเป็นรุ่นพิเศษ กำลังขับนับพันๆวัตต์หรือถึงนับหมื่นวัตต์ กว่าจะออกแบบได้ กว่าจะผลิต เสียทั้งเงินและเวลา ซึ่งทางโรงงานเองไม่ได้อยากทำเลย แต่เพราะลูกค้าบางกลุ่มที่จะเข้าแข่ง เรียกร้องเป็นพิเศษ การผลิตที่ยอดแค่หลักร้อย (ซึ่งก็เก่งแล้ว) แม้ว่าแต่ละเครื่องราคาจะสูงลิบ เครื่องละหลายๆหมื่นบาท หรือนับแสนบาทหรือกว่านั้น แต่ยอดขายมันเทียบไม่ได้เลยกับการผลิตเพาเวอร์แอมป์รุ่นปกติธรรมดาที่มียอดขายนับแสนเครื่อง นั่นคือ ทางโรงงานผู้ผลิตก็ไม่อยากผลิต (แม้จะขายแพงลิบแต่จริงๆแล้วไม่คุ้มเลย เมื่อคิดว่ามันเกือบเป็นงานผลิตด้วยมือ (HAND MADE)
  2. ในส่วนของผู้นำเข้า (Importer) ซึ่งก็คือผู้แทนจัดจำหน่ายหรือเอเย่นต์ก็ไม่น่าจะคุ้มอะไรเลย ไหนของจะมีราคาสูงลิบ เพาเวอร์แอมป์บางตัวแสนกว่าบาท ใช้ 3-4 ถึง 10 ตัวก็มีต่อคัน ถามว่าสั่งมาแล้วจะมีใครซื้อสักกี่คนกัน ส่วนใหญ่สั่งมาให้ร้านค้าที่มีแวว เอาลงแข่งฟรีๆ แข่งเสร็จกลับมาเครื่องไม่พังก็ช้ำหมด ต้องโละขายเป็นของเก่าใช้แล้ว หรือถ้าจะมีใครซื้อไปแข่งก็มักต้องขายในราคาเฉียดทุนเพราะชาวบ้านทั่วไปคงไม่ซื้อไปติด นั่นคือ ผู้นำเข้าไม่ได้กำไรเลย บางทีต้องจ่ายเงินอุดหนุนร้านที่ลงแข่งด้วยซ้ำ ถ้าผู้นำเข้าจะได้คือ ชื่อเสียงว่าสินค้าตัวเองได้แชมป์พลังเสียง ถามต่อไปว่า ได้รางวัลมาแล้วมีประโยชน์อะไร หมดเงินไปเป็นล้านบาทซื้อถ้วยรางวัลน่าเกลียดๆมา 1 ใบ ถ้าผู้บริโภคไม่โง่จนเกินไป ย่อมดูออกว่ารางวัลนั้นมันเฉพาะสำหรับเครื่องรุ่นที่ทำมาพิเศษเหล่านั้น ไม่ใช่รุ่นที่เขากำลังจะซื้อหรือมีปัญญาซื้อไหว มันคนละเรื่องกันเลย ร้านที่ทำเสียงดังเก่ง ไม่หมายความว่าจะติดตั้งให้สุ้มเสียงน่าฟังเป็นธรรมชาติสมจริงได้เก่ง (SOUND QUALITY หรือ SQ) และในความเป็นจริงมักพบว่า 2 อย่างนี้จะสวน ทางกัน ร้านเก่งอย่างหนึ่งจะไม่เก่งอีกอย่าง ยากมากๆที่เก่ง 2 อย่าง ก็เป็นอันว่า ผู้บริโภคก็ไม่ได้อะไรกับการแข่ง ขันเสียงดัง จึงไม่ใช่องค์ประกอบหลัก หรือ แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจติดร้านนั้น หรือ เลือกผลิตภัณฑ์นั้นๆ นั่นคือ สิ่งเดียวที่ผู้นำเข้าจะได้คือ คนจำชื่อสินค้าได้ แต่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ สุดท้ายก็เหมือนโฆษณาดีคนรู้ทั่วแต่ขายของไม่ได้ เป็นอันว่า ผู้นำเข้าเสียมากกว่าได้ ถ้าได้จริง ทำไมนับวันผู้นำเข้าแต่ละรายเริ่มถอยกับการทิ้งเงินเล่นกับเกมส์ที่ไม่รู้จบนี้ คงเหลือแต่ขาใหญ่ที่รวยจริงจึงจะยังมีแรงทุ่มทุนทิ้ง! บางเจ้าถึงกับบอกว่า เงินถึงถ้วยก็ถึง เงินถอยถ้วยก็ถอน ผู้นำเข้าราบจิ๊บรายจ้อยอย่ามาแหยม หมดตัวเจ็บตัวง่ายๆ
  3. ในแง่ของร้านติดตั้ง ถ้าคิดจะควักกระเป๋าเองละก็ อย่าแม้แต่จะคิด ไหนจะค่าของ ไหนจะค่าอุปกรณีติดตั้ง(ถึงกับรื้อโครงสร้างรถ,ดามรถใหม่ทั้งคัน,พอกปูนตัวถัง ฯลฯ ขนาดว่าแทบขับไม่ไป บางคันต้องเข็นกันมา),เสียเวลามหาศาล,เสียรายได้เพราะต้องระดมช่างมาทำ โชคร้ายอาจถึงเสียหู (หูหนวก) ถ้าพลาดขึ้นมา ถึงได้งบอัดฉีด,แรงหนุนจากผู้นำเข้าแต่ต้องเสียสิ่งต่างๆดังกล่าวแล้วประหยัดได้แต่ค่าของทั้งหมดหรือบางส่วน เสียรถทั้งคัน แถมถ้าแพ้ผู้นำเข้าก็ตีจาก ทิ้งความสูญเสียไว้ให้ร้านรับไปเอง จะกู้ชื่อก็ยาก หาผู้นำเข้าอื่นมาทุ่มให้อีกยากมาก ครั้นได้แชมป์มา เอามาโฆษณาหากิน หาลูกค้าประเภทหูซาดิสท์ ก็จะมีสักกี่ราย ยิ่งตอนนี้เศรษฐกิจหุบตัวหดตัว ประเภทได้เงินฟลุ้คจากหวยเถื่อน, อบายมุข,หุ้น,คอรัปชั่น มาเหือดแห้งลงแทบไม่เหลือ เงินไม่ได้หาง่ายเหมือนก่อน ลูกค้าหูซาดิสท์เหล่านี้จึงหายเกือบหมด เป็นอันว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แถมปัจจุบันแต่ละค่ายก็จัดแข่งกันให้เปรอะไปหมด แข่งกันถี่ยิบก็มี ใครได้แชมป์มันก็แชมป์แค่ 2 – 3 เดือน อย่างเก่ง 4 – 5 เดือนแล้วก็แข่งกันใหม่ แชมป์คนใหม่ ว่ากันไม่รู้จบ ไม่มีความยั่งยืนได้เลย ต่างกันโดยสิ้นเชิงกับการแข่งคุณภาพเสียง ที่ยังไงๆก็มีคำว่า “คุณภาพ”การันตีไม่ใช่ “ตัวเลข”   ถึงขนาดร้านติดตั้งดังๆที่กวาดแชมป์เป็นว่าเล่น ถอดใจ เพราะเห็นความไม่ยั่งยืนและความสูญเปล่าที่ไร้สาระของการแข่งความดัง  พูดง่ายๆว่า ดูให้ลึกๆแล้ว ร้านติดตั้งก็ไม่ได้อะไรเหมือนกัน
  4. ในแง่ของผู้บริโภค คนที่บ้านอยู่ใกล้สนามแข่งจะต้องทนวิบากกรรมจากพลังเสียงที่ทะลุทะลวงผ่านสิ่งต่างๆจนเข้ามากระทุ้งรูหู,กระจกสั่นกราว,อกสะเทือน ถึงห้องนอน ซึ่งมันแผ่ไกลมาก นั่นคือ การแข่งได้สร้างความเดือดร้อนแสนสาหัสให้แก่ชาวบ้าน พาลจะสาปส่งพวกสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์อุดหนุนการแข่งเหล่านี้

    ถ้าจะมีใครได้ประโยชน์คงเป็นเจ้าของสถานที่ให้เช่าจัดแข่ง ได้ค่าเช่า ได้ขายของ (กรณีจัดในหรือใกล้ศูนย์การค้า),พวกนักซิ่งหูซาดิสท์ที่ชอบเปิดดังๆคับถนนคับซอยรบกวนชาวบ้าน (เจอพวกนี้ วิธีง่ายๆอย่างเบาะๆคือ เอาถุงอุจจาระปาอย่างแรง หรือ เอาง่ามหนังสติ๊กยิงก้อนหินเข้ากระจกรถ หรือ เอาคันธนูแบบหน้าไม้ (มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เดินป่า,กีฬา) ยิงลูกศรเหล็กเข้าไปขัดกับล้อ หรือ ตัวถังรถ (วิธีนี้ไม่สงวนสิทธิ์ที่ตำรวจจะนำไปปราบพวกรถซิ่งทั้งจักรยานยนต์และรถยนต์ เงียบและไม่รู้จุดลอบยิงด้วย.......บาปอีกแล้วเรา)

    ต้องพูดกันให้รุนแรงชวนมีเรื่องอย่างนี้แหละจึงจะเห็นภาพว่า การแข่งความดัง ได้สนับสนุนพวกซิ่งซาดิสท์ไปทำความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านจนอาจเกิดเรื่องใหญ่โตได้อย่างไร
  5. คนที่ได้ประโยชน์ทั้งขึ้นและล่องก็เห็นมีแต่สื่อที่ได้ค่าโฆษณาทีมแชมป์,สินค้าแชมป์,ยี่ห้อแชมป์และโฆษณาการแข่งต่างๆ แต่จริงๆแล้วไม่เห็นจำเป็นต้องหากินกับโฆษณาแชมป์ความดังก็ได้ โฆษณาแง่มุมอื่นก็ได้เช่นคุณภาพเสียง หรือ SQ
  6. หลายๆคนมักอ้างกันว่า ร้านติดตั้งสามารถนำเทคนิคและความรู้ที่ได้จากการพัฒนาเพื่อให้ได้พลังเสียงมากๆ ไปใช้ติดตั้งชุดปกติแก่ลูกค้าได้ มันก็ถูกแค่บางส่วนและเป็นส่วนน้อย เพราะปัจจุบันการแข่งความดังมันได้ก้าวล้ำเกินเส้นของการแข่งด้านเทคนิคไปแล้ว หากแต่เป็นการแข่ง “ทุ่มทุน”กับตัวอุปกรณ์เช่น ลำโพง,เพาเวอร์แอมป์,ตัวถังรถ,ตัวรถ จนล่วงล้ำไปสู่คำว่า ไม่อั้น แล้ว ไม่ใช่แข่งเทคนิค หากแต่แข่งว่า ผู้นำเข้าไหนรวยกว่าก็เอาแชมป์ไป คำอ้างข้างต้นจึงเป็นแค่ กลบเกลื่อนในการทำสิ่งที่ไร้สาระให้ดูเหมือนมีสาระเท่านั้น

มีความจริงอันเป็นอมตะอยู่ข้อหนึ่ง “สังคมไหนไม่มีคุณภาพ สังคมนั้นย่อมอยู่ไม่ได้นาน” ขณะที่คนเข้าแข่งพลังเสียงมีมากขึ้น (โดยเฉพาะร้านติดตั้งที่เข้าใจผิดคิดว่าเป็น “ทางลัด”ของการเงยหน้าอ้าปาก สร้างชื่อเสียง แต่ร้านที่เข้าแข่งคุณภาพเสียงกลับมีน้อยลงๆ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า “สังคมเครื่องเสียงรถคงจะต้องนับวันปิดฉากเสียแล้ว........อนิจจา”

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459